ขั้นตอนที่1 ติดตั้งแอร์โซล่าเซลล์ แบบใช้ไฟบ้าน AC220V ให้เสร็จก่อน
- ต่อสายไฟ จากตู้คอนซูมเมอร์บ้าน (ตู้เมนเบรกเกอร์บ้าน) ไปเข้าตู้ DC LINK โดยต่อสายไฟ L/N/G สายไลน์และนิวตรอน และสายกราวด์ G จาก ตู้เมนเบรกเกอร์ ผ่านเบรกเกอร์ลูกย่อยของแอร์ ไปต่อเข้าตู้ DC LINK ซึ่งภายในตู้จะมีช่องสำหรับต่อสาย L/N/G และสายกราวด์ G ผ่านเทอร์มินอล เอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ติดตั้งสายไฟได้สะดวกมาก
- ต่อสายไฟ จากตู้ DC LINK ไปเข้า คอยล์เย็นของแอร์ โดยต่อสายไฟ L/N และสายกราวด์ G จากตู้ DC LINK ไปต่อเข้าที่ช่องเทอร์มินอล ของคอยล์เย็น (FANCOIN) ของแอร์
- ต่อสายไฟ จากคอยล์เย็นของแอร์ ไปเข้า คอยล์ร้อน ของแอร์ ( CONDENSING) โดยต่อสายไฟ L/N/G/1 สายไลน์และนิวตรอน และสายกราวด์ G และสายสัณญาณ(1) จาก คอยล์เย็น (FANCOIN) ของแอร์ ไปเข้า คอยล์ร้อน ตู้คอมเพลสเซอร์แอร์ ( CONDENSING) ตรงช่องเทอร์มินอล ที่ด้านข้าง ของคอยล์ร้อน
***จากนั้นทำการเดินท่อน้ำยาแอร์ ปกติเหมือนกับแอร์บ้าน ทั่วๆไป และทำการทดสอบเปิดแอร์ได้ตามปกติเลย
ขั้นตอนที่2 ติดตั้งแอร์โซล่าเซลล์ แบบใช้ไฟแดด DC จากแผงโซล่าเซลล์ เพื่อการประหยัดไฟ
- ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ บนขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือจะติดตั้งแผงบนหลังคา ก็ได้ หรือจะใช้แผงโซล่าเซลล์เดิม จากปั้มน้ำโซล่าเซลล์ ในภาคการเกษตรเดิมก็ได้ จะได้ประหยัดเงิน เพราะไม่ต้องซื้อแผงโซล่าเซลล์เพิ่ม
- ต่ออนุกรมแผงโซล่าเซลล์ จำนวนแผงโซล่าเซลล์ตามที่แอร์ต้อง โดยจำนวนแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้ จะขึ้นกับขนาดของ แอร์โซล่าเซลล์ ว่ามีขนาดกี่ BTU ยิ่ง BTU เยอะแอร์จะยิ่งกินไฟ และต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ มากขึ้นตามไปด้วย
- ต่อสายไฟจากแผงโซล่าเซลล์ ผ่านปลั๊ก MC4 เข้าที่ตู้ DC LINK โดยขั้วบวกต่อเข้าขั้วบวก ขั้วลบต่อเข้าขั้วลบ
- ต่อสายไฟโซล่าเซลล์ ผ่านปลั๊ก MC4 จากตู้ DC LINK ไปเข้าปลั๊ก MC4 โซล่าเซลล์ ที่ตู้คอมเพลสเซอร์แอร์ ( CONDENSING) โดยขั้วบวกต่อเข้าขั้วบวก ขั้วลบต่อเข้าขั้วลบ
- ต่อสายกราวด์ G ที่ด้านข้างของตู้คอมเพลสเซอร์แอร์ (คอยล์ร้อน) แล้วทำการต่อสายดิน และปลั๊กแท่งกราวด์ร็อด ลงดินได้เลย
***จากนั้นทำการ เทสระบบ โดยการเปิดเบรกเกอร์แอร์ เพื่อเปิดแอร์โดยใช้ไฟบ้านก่อน ซึ่งจะเห็นว่า ปกติแล้วแอร์บ้านจะกินไฟมาก เป็นพันๆวัตต์ และเมื่อเราทำการ เปิดเบรกเกอร์แผงโซล่าเซลล์ เพื่อจ่ายไฟให้แอร์ จะพบว่า อัตราการกินไฟของแอร์โซล่าเซลล์จะลดลงไปอย่างมาก จากหลัก 1,000W-2,500W เหลือเพียงแค่ หลักร้อย W ต้นๆ เท่านั้นเอง ( ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการติดตั้งจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ที่เหมาะสมกับขนาดของแอร์โซล่าเซลล์ ด้วยครับ )