วิธีวางผังระบบน้ำ ด้วยปั้มโซล่าเซลล์ ให้มีน้ำใช้ทำไร่ ทำสวน ได้ตลอดทั้งปี

สวัสดีครับเพื่อน ๆ พี่น้องเกษตรกร ที่ติดตามช่องยูทูป พี่หมีโซล่าเซลล์ เชื่อว่าการทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนานั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุดนั่นก็คือ น้ำ นั่นเองนะครับ ถ้าเรามีน้ำให้ใช้ทำนากันตลอดทั้งปีเลยคงจะดีไม่ใช่น้อยใช่ไหมครับ ?

ดังนั้น!! พี่หมีจะพาพี่น้อง fc ทุกคนไปเรียนรู้ตัวอย่าง การออกแบบระบบน้ำในนาอย่างไร ? ให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรกันได้ตลอดทั้งปีเลย กับ “น้องยอร์ค” วิศวกรหนุ่มไฟแรง ที่ทุ่งออกญา นาอำแดง .หนองฉาง .อุทัยธานี ครับ 

ออกแบบระบบน้ำ-ให้มีน้ำใช้ทำเกษตร-ได้ทั้งปี

ซึ่งพี่หมีขอบอกก่อนเลยนะครับว่า พื้นที่ของ “น้องยอร์ค” สามารถทำนา ได้มากถึงปีละ 3 ครั้งเลยทีเดียว ไม่ใช่เล่นๆเลยนะครับเนี่ย เดี๋ยวเราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยครับ

ก่อนอื่น !! เรามาดูภาพรวมชองพื้นที่กันก่อนนะครับ 

พื้นที่ทั้งหมดของ น้องยอร์ค มีอยู่ 14 ไร่ ซึ่งได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาประยุกต์ใช้ เมื่อออกแบบระบบน้ำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีแล้ว จะได้พื้นที่ทำระบบน้ำรวมถึงทำฟาร์มอื่น ๆ 6 ไร่ เหลือพื้นที่ให้ทำนา 8 ไร่ แต่สามารถทำนาได้ถึงปีละ 3 ครั้งเลยทีเดียว จากปกติแล้วจะทำนาได้แค่เพียงปีละครั้งเท่านั้น !!

แบบผังระบบน้ำ

เดี๋ยวเราไปดูแบบแปลนการออกแบบระบบน้ำให้มีน้ำใช้ทำนา ตลอดทั้งปี ในแต่ละส่วนกันเลยครับ

จุดที่ 1 ขุดคูน้ำ รูปตัวยู รอบที่นาเพื่อกระจายนำ้ไปรอบที่นา

โดยขุดเป็นคูน้ำกว้างประมาณ 3 เมตร ให้เป็นตัวยู รอบที่นา แต่ละคูน้ำจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ลึกน้อย | 2.ลึกกลาง | 3.ลึกมาก ซึ่งพื้นที่ในจุดที่ 1 ส่วนนี้จะเป็นคูน้ำแบบลึกกลาง มีความลึกอยู่ที่ 1.50 – 2.00 เมตร ตั้งไว้ด้านหน้าสุด โดยใช้ของเสียจากปลา ทำเป็นปุ๋ยให้นาข้าว ซึ่งนาข้าวก็จะได้รับปุ๋ยอินทรีย์จากปลาที่เราเลี้ยงนั่นเอง 

จุดที่1-ศาสต์พระราชา

จุดที่ 2 สระน้ำใช้ + ปั้มบาดาลโซล่าเซลล์ใช้ดึงน้ำใต้ดินมาเติมน้ำลงสระให้เต็ม

สระสำรองน้ำใช้ จะใช้พื้นที่ ประมาณ 2 งาน ในการขุดสระน้ำขุดให้ลึก 5-6 ม.ขึ้นไป เพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำ เช่น น้ำฝน และในหน้าแล้งสามารถใช้ ปั้มน้ำบาดาลโซล่าเซลล์ เข้ามาช่วยทำหน้าที่ ดูดน้ำใต้ดินในบ่อบาดาล ขึ้นมาเติมน้ำในสระได้ จะได้มีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง

ปั้มบาดาลโซล่าเซลล์-สำรองน้ำลงบ่อ

จุดที่ 3 ปั้มหอยโข่ง โซล่าเซลล์ ใช้ผันน้ำเข้านาโดยที่ไม่จ่ายค่าไฟ

จุดที่3-ปั้มโซล่าเซลล์

หลังจากที่ปั้มบาดาลโซล่าเซลล์ สูบน้ำจากบ่อบาดาลเพื่อนำน้ำขึ้นมาเก็บเอาไว้ในสระสำรองน้ำแล้ว พี่น้องเกษตรกรสามารถใช้แผงโซล่าเซลล์ชุดเดิมของปั้มบาดาล ไปต่อเข้ากับปั้มหอยโข่งโซล่าเซลล์ เพื่อสูบน้ำเข้าสวน หรือเข้านาได้ ทำให้ประหยัดมาก เพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อแผงโซล่าเซลล์เพิ่มใช้แผงชุดเดิมได้เลย ประหยัดทั้งค่าไฟ และประหยัดเงินค่าแผงโซล่าเซลล์ด้วยครับ

ปั้มหอยโข่งโซล่าเซลล์

จุดที่ 4 สระสำรองน้ำใช้ เก็บน้ำเอาไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง

สระที่2 นี้ เป็นสระสำรองน้ำ เอาไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง หากน้ำในสระน้ำใช้ที่จุดที่ 2 น้ำเริ่มแห้งและไม่พอใช้ โดยสระสำรองน้ำใช้ ช่วงหน้าแล้ง จะเป็นสระใหญ่ และลึกเพื่อให้ป้องกันน้ำระเหยออกหมดในช่วงหน้าแล้ง

จุดที่4-สำรองน้ำไว้ใช้-ช่วงหน้าแล้ง

จุดที่ 5 คูน้ำลึก เอาไว้เลี้ยงปลา

จุดนี้จะเป็นคูน้ำที่สามารถเชื่อมต่อกับคูน้ำ จุดที่ 1 ได้  ซึ่งจุดที่ 5 นี้จะเป็นคูน้ำที่ ลึกที่สุด !! มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1.เก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง 2.สามารถใช้เลี้ยงปลาได้ ซึ่งปลาที่น้องยอร์คเลี้ยงคือ ปลาช่อนกระชัง นั่นเองครับ

จุดที่5-คูน้ำลึก

คู่เลี้ยงปลา

จุดที่ 6 คูน้ำตื้น ทำหน้าที่ระบายน้ำออกจากสวน ในกรณีที่เป็นหน้าน้ำ

เป็นจุดที่ คูน้ำตื้นที่สุด!! ใช้สำหรับการระบายน้ำออกจากนา ในกรณีที่น้ำในนามีมากเกินไป เพื่อรอปล่อยลงสู่แม่น้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาอายุสั้นได้อีกด้วยครับ เช่น ปลากัด ปลาหมอ 

คูระบายน้ำทิ้ง-กรณีน้ำท่วม

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พี่น้อง fc ทุกท่าน การที่เรายอมแบ่งพื้นที่ออกมา 6 ไร่ เพื่อไว้ใช้กักเก็บน้ำ จากพื้นที่ทั้งหมด 14 ไร่ ต่อให้ถึงปีที่แล้งจัดเราก็ยังสามารถทำนาได้อย่างสบาย ๆ  พี่น้องเกษตรกรได้รับความรู้ดี ๆ แบบนี้ไปแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตัวเองกันนะครับ

ทุ่งออกญา-นาอำแดง-ร้านกาแฟกลางทุ่ง-อุทัย

สำหรับพี่น้องเกษตรกร ที่สนใจ และอยากจะไปดู การออกแบบระบบน้ำในนา ให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรกันได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถแวะเข้าไปดูกันได้นะครับ ที่ร้านกาแฟกลางทุ่ง ทุ่งออกญา นาอำแดง .หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยที่ร้านนะครับ จะเปิด ในทุกๆวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์นะครับ

🚩 Special Thanks

สถานที่ท่องเที่ยว ที่กำลังดังมาก! ในจังหวัดอุทัย : ร้านกาแฟกลางทุ่ง ทุ่งออกญา นาอำแดง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี แผนที่ : https://goo.gl/maps/8WvN5vkJjDNntCD78 เปิดให้เข้าชม : เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักนักขัตฤกษ์

Contact-Solarcell