วิธีต่อท่อดูด-ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์

★ เปิดเผยเคล็ดลับ! ต่อท่อดูด ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ แบบไหน ไม่ต้องล่อน้ำนาน และล่อน้ำเพียงแค่ครั้งเดียว ใช้ได้ตลอดไป 

พี่น้อง Fc ครับ วันนี้พี่หมีโซล่าเซลล์ จะมาสอนวิธีการต่อท่อดูด ปั๊มน้ำหอยโข่ง โซล่าเซลล์ แบบง่ายๆด้วยตัวเองครับ ว่ามีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง เวลาต่อจริงๆ จะได้ไม่ต้องล่อน้ำนาน และต่อครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไปครับ

รวมโปรโมชั่น-โซล่าเซลล์

พี่หมีลงพื้นที่-สอนต่อท่อดูด-ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์

เช็คลิสต์ในการต่อท่อดูด ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ ที่ถูกต้อง

เช็คลิสต์-ก่อนเปิดปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์

ตรวจรอยต่อต่างๆ-ของท่อดูดปั๊มน้ำ

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจรอยต่อ ของท่อทั้งหมด 

หลังจากที่พี่น้องเกษตรกร ต่อท่อดูดเสร็จแล้ว ให้ทำการตรวจรอยต่อท่อ ทั้งหมด ว่าทากาวแน่นไหม มีน้ำรั่วซึมออกมาไหม โดยเฉพาะตรงตำแหน่งที่เป็นเกลียวนอก เกลียวใน ให้ตรวจให้ดีอีกทีว่า ได้พันผ้าเทปพันเกลียวแน่นแล้วหรือยัง เพราะตรงตำแหน่งนี้มักจะเป็นจุดอ่อนครับ ที่ทำให้เกิดโพรงอากาศ และปั๊มจะไม่ดูดน้ำถ้าต่อไม่สมบูรณ์

ท่อดูดปั๊มน้ำ-จะต้องไม่แอ่นมีอากาศเข้า

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสโลปท่อดูด จากบนลงล่าง ต้องไม่มีจุดท่ีแอ่นตามภาพ จะมีโพรงอากาศอยู่ข้างใน ปั๊มจะไม่ดูดน้ำ!

ขั้นตอนต่อมา ให้พี่น้องเกษตรกร ตรวจสอบสโลปท่อ ให้เป็นสโลปลาดลงจากบนลงล่าง ห้ามมีจุดที่ท่อดูดแอ่นขึ้นมาตามภาพเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดโพรงอากาศ และเป็นสาเหตุให้ปั๊มน้ำ ดูดน้ำไม่ขึ้นนั่นเอง

การต่อท่อดูด-ปั๊มน้ำ-ที่ถูกต้อง

การต่อท่อดูด ที่ถูกต้อง ท่อดูดจะต้องเป็นสโลปจากบนลงล่าง ไม่มีการแอ่นของสายระหว่างทาง และหัวกระโหลก หรือว่าฟุตวาล์วที่ใช้ จะต้องเป็นระบบสปริงจึงจะสามารถเก็บน้ำได้อยู่ ( วางฟุตวาล์วเอียงได้ในกรณีเป็นสปริง ) แต่ถ้าเป็นระบบบานพับที่ไม่มีสปริง ฟุตวาล์วจะต้องจุ่มลงทำมุม 90  องศาเท่านั้น ไม่งั้นจะเก็บน้ำไม่อยู่

การต่อท่อดูดปั๊มน้ำ-ที่ผิดวิธี

ตัวอย่าง การต่อท่อดูด ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ ที่ไม่ถูกต้อง และทำให้ปั๊มน้ำมีโพรงอากาศปนเข้ามา จนปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น

การต่อท่อดูดปั๊มน้ำโซล่าเซลล์-ที่ไม่ถูกต้อง

ตัวอย่าง การต่อท่อดูด ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ ที่ไม่ถูกต้อง และมักต่อผิดบ่อย สำหรับในกรณีที่เห็นตามภาพนี้

เติมน้ำให้เต็มท่อดูด

ขั้นตอนที่ 3 เติมน้ำให้เต็มท่อดูด จนระดับน้ำนิ่งไม่ยุบลง 

ขั้นตอนต่อมา ให้เติมน้ำให้เต็มท่อดูด จนระดับน้ำนิ่ง ไม่ยุบลงไป ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ถ้ากรณีเติมน้ำแล้ว น้ำยังยุบอยู่ ให้เช็ค 2 จุด คือ 1 เช็คตามรอยต่อต่างๆ และ 2 เช็คที่ตัวหัวกระโหลกหรือว่าฟุตวาล์ว ว่าเป็นชนิดสปริงหรือไม่ ถ้าเป็นสปริงจะเก็บน้ำอยู่ แต่ถ้าเป็นแบบบานพัด กรณีวางฟุตวาล์วเอียง จะเก็บน้ำไม่อยู่ และปั๊มน้ำจะดูดน้ำไม่ขึ้นนั่นเอง

ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์-ต่อท่อดูดถูกต้องน้ำไหลเร็ว

ตัวอย่างการใช้งาน ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ เป็นไงบ้างครับพี่น้องเกษตรกรครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ลองไปทดลองทำกันดูที่ไร่ ที่สวนนะครับ ถ้าทำแล้วติดปัญหา ไม่เข้าใจตรงจุดไหน ก็ทักไลน์ หรือโทรมาปรึกษากับน้องๆทีมงานที่ปรึกษาเกษตรกรรุ่นใหม่ได้เลยครับ

ตัวอย่างการใช้งาน-ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์

ติดต่อสอบถาม-ทีมงานที่ปรึกษาเกษตรกรรุ่นใหม่

แจกฟรี-เสื้อพี่หมีโซล่าเซลล์-Fc